วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555


สื่อมวลชลเพื่อการศึกษา

1.  สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
     ตอบ    1. สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่น ๆ
           2. ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และ ภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท
           3. วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ ระบบ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย
           4. วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางกายภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย
           5. สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ ต่าง ๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์
           6. สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและอย่างรวดเร็ด


22.คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
    ตอบ วิลเบอร์ ชแรมม์ นักวิชาการด้านการสื่อสารมวลชนได้กล่าวถึงบทบาทของสื่อสารมวลชน ที่เกี่ยวกับการศึกษาไว้ว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ ( Schramm 1964 : 144) ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัดคุณค่าของสื่อมวลชนด้านการศึกษาได้ดังนี้ คือ 

1. กระตุ้นความสนใจการรับความรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชน เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามความพอใจ ของแต่ละบุคคล แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนที่มีครูบังคับควบคุม
2. ความเข้าใจเรื่องราวสื่อมวลชนโดยทั่วไป จะเสนอความรู้ข่าวสารที่ผู้รับสามารถรับรู้ และเข้าใจโดยง่าย โดยอาศัยเทคนิควิธีการต่างๆ
3. อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติ ความเชื่อ ค่านิยมของบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่สอนได้ยากด้วยวิธีการสอนทั่วๆไป
4. คุณค่าของเนื้อหา มีลักษณะที่เป็นคุณค่าสำคัญ 3 ประเภทคือ
          4.1 ความหลากหลาย
          4.2 ความทันสมัย
          4.3 ความเกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคม สามารถนำไปใช้ได้ทันที
5. ความสะดวกในการรับ
6. การลงทุนทางการศึกษาเป็นการลงทุนที่ถูกมาก

         สื่อมวลชนนั้นมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนจะต้องรับข่าวสารจากสื่อมวลชนอยู่เป็นประจำตลอดชีวิต ประกอบกับเหตุผลและความจำเป็นต่างๆ แต่สื่อมวลชนก็เปรียบสมือนดาบสองคม เพราะสื่อมวลชนมีทั้งประโยชน์และโทษอยู่ในตัว เป็นเหมือนกระจกสะท้อนภาพในสังคม มันสามารถเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างได้อย่างไม่น่าเชื่อ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องจัดการศึกษาเกี่ยวกับสื่อมวลชนศึกษา เพื่อให้ประชาชนสามารถเลือกและใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชนได้อย่างเหมาะสม

           การนำสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามามีประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยสื่อการมวลชนเป็นช่องทางในการเรียนรู้ที่หลากหลาย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้แก่บุคคลที่สนใจที่จะศึกษา แต่สื่อก็ย่อมมีข้อจำกัดของการศึกษาอยู่ เช่น การเรียนรู้บางอย่างถูกจำกัดเฉพาะในห้องเรียนเป็นส่วนใหญ่


3 . ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามา 1 รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้น ๆ
ตอบ  บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ ทำให้นักเรียนสามารถศึกษาด้วยตัวเองได้แบบง่ายๆ  การแสดงสถาณการณ์จำลอง แบบจำลอง ภาพเคลื่อนไหว แสงสีและเสียงประกอบ ทำให้เนื้อหาน่าสนใจและน่าเรียนยิ่งขึ้น








โทรคมนาคมเพื่อการศึกษา Telecommunication for Education

1. โทรคมนาคม หมายถึงอะไร และมีประโยชน์ทางการศึกษาอย่างไรบ้าง
ตอบ โทรคมนาคม หมายถึง การส่งสารสนเทศในรูปแบบ ของตัวอักษร ภาพ เสียง โดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย ไปยังผู้รับสารที่ต้องการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆ

ประโยชน์ของโทรคมนาคมทางการศีกษา

            - ช่วยติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว
            - ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ที่ผลิตออกมาในแต่ละวัน
            - ช่วยเก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าได้อย่างสะดวก
            - เพื่อประสิทธิภาพในการผลิตสารนิทศ
            - ลดอุปสรรคเกียวกับระยะเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ


2. การใช้ Facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาหรือไม่ ถ้าเป็นจงยกตัวอย่าง ประโยชน์ของ Facebook
ตอบ facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา เพราะเป็นการที่ประชุมทางไกล เป็นเทคนิคที่ใช้ในการสื่อสารระยะไกล เป็นการผสมผสานของสัญาณภาพ สัญญาณเสียงและข้อมูลผนวกกับเทคโนโลยีของเครือข่ายและการสื่อสารเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกันในแบบ RealTime ระหว่าง 2 กลุ่ม หรือมากกว่าซึ้งอยู่ห่างไกลกัน และทำให้ผู้ที่ห่างกันสามารถติดต่อสื้อสาร รับข้อมูลข่าวสารกันและกันได้ อีกด้วย 

3. นิสิตสามารถรับชมโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมด้วยวิธีใด
ตอบ  1. ระบบ DSTV เป็นระบบผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ 
             KU-Band
         2. ระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซึ่งสามารถรับชมได้ในเขต
             กรุงเทพมหานครปละจังหวัดปริมณฑล สามารถรับชมรายการได้ 7 ช่อง



4. ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  ประโยชน์จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-Of-Charge Web-Based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์ 


5. นิสิตรับชมรายการจาก http://www.youtube.com/watch?v=OvUsY7oTEQc และจงอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคมศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
ตอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องของ ดาวเทียม มาตั้งแต่ครั้งที่ กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้เริ่มใช้ดาวเทียม อินเทลสตาร์ เพื่อการติดต่อสื่อสารในปี 2510 และมีการสร้างสถานีภาคพื้นดินที่ ตำบลศุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ต่อมาในปี 2522 ได้มีการเช่าสัญญาณวงจรดาวเทียม ปาลาปา ของอินโดนีเซีย มาใช้เพื่อการสื่อสารภายในประเทศ และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ทรงศึกษาและติดตามความก้าวหน้า ของวิทยาการดาวเทียมนี้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการนำดาวเทียม มาใช้เพื่อประโยชน์ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การแก้ไขปัญหาการใช้ที่ดินในแหล่งต้นน้ำลำธารบนภูเขาสูง รวมถึงการใช้ดาวเทียมตรวจสอบสภาพอากาศ ซึ่งต่อมาหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้น้อมนำแนวพระราชดำริไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติ และการพยากรณ์อากาศ

6. ให้นิสิตโพสรูปเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา
 ตอบ 


จิตวิทยาสีของการออกแบบสื่อการสอน

 1. ถ้าต้องการออกแบบและน้าเสนอ PowerPointถึงเรื่องราวด้านวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ ควรใช้ใด ในการออกแบบเพราะเหตุใดจงอธิบาย  
ตอบ    การออกแบบถึงเรื่องราวด้านวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ สีน้ำตาล ให้ความรู้สึก เก่าแก่โบราณ นึกย้อนถึง ชุมชนโบราณ วัฒนธรรมได้เป็นอย่างดีควรใช้ตัวอักษรที่อ่านได้อย่างชัดเจน อ่านง่าย ขนาดของตัวอักษรมีขนาดที่เห็นได้อย่างชัดเจน ไม่ใช้ตัวอักษรสีสะท้อนแสง สีฉูดฉาด การใส่ภาพประกอบเรื่องราวหากไม่จำเป็นไม่ควรมีอักษรในภาพ ตัวอักษรที่ใช้ควรให้เงาเพื่อเพิ่มความคมชัด ส่วนสีของตัวอักษรหรือภาพประกอบที่ใช้ควรใช้สีใสบายตา ใช้รูปเป็นจุดเด่น สร้างความสนใจ และไม่ให้อารมณ์ไปทางใดทานหนึ่งจนเกินไป



2.ให้นิสิตหาภาพถ่ายหรือภาพวาดจาก Google Search ที่ใช้สีตัดกันมา 2 ภาพพร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภา
ตอบ   


ในภาพนี้เป็นการตัดกันของสีฟ้าและเทา ซึ่งทำให้รู้สึกถึงความนิ่งเงียบ ปราศจากการเคลื่อนไหว แสดงถึงความหมดหวัง สิ้นหวัง สื่อให้เห็นว่าการเดินทางสิ้นสุดลงตรงนี้ หมดทางไปต่อ ปลายทาง  


จากภาพเราใช้สีตรงข้ามกันเอามาตัดกันจะทำให้จุดสนใจอยู่ตรงภาพที่เอามาตัด ถ้าใช้สีตรงข้ามตัดกัน ควรจะให้สีหลัก 80% และสีรองเป็น 20% โดยประมาณ จะทำให้สีที่เราต้องการเป็นโทนสีหลัก เป็นการใช้สีตัดกันที่ชัดเจนอีกด้วย 


3. .ให้นิสิตหาตัวอย่างภาพจาก Google Search ในลักษณะการสร้างความกลมกลืน โดยใช้สีในลักษณะสภาพสีส่วนรวม (TONALITY OF COLOR) มา 2 ภาพพร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภาพ
ตอบ    ภาพนี้เป็นการใช้สีกลุ่มกลมกลืนกัน เกิดจากการส่งเสริมกันระหว่างสีของพื้นกับสีของส่วนเด่น โดยให้สีของส่วนเด่นปรากฏเด่นชัดขึ้นหรือเปล่งพลังของสีออกมาอย่างเต็มที่คล้ายกับการเขียนสีแท้ท่ามกลางสีหม่น ซึ่งมีสีอื่นมาปนบ้างแต่ไม่มากนักทำให้ภาพดูไม่จืดชืด เป็นการใช้สีส่งเสริมให้เกิดพลังสีเด่นนี้โดยเห็นได้ว่าภาพแบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วนพื้นและส่วนเด่นหรือจุดสนใจ โดยรวมแล้วให้ความรู้สึกนุ่มนวล รู้ถึงการเคลื่อนไหวของโคมไฟและสัมผัสได้ถึงความวิจิตรงดงามของภาพ

 ภาพนี้เป็นการใช้สีกลุ่มกลมกลืนกันซึ่งเป็นโทนชุดสีร้อน มีสีอื่นปนมาบ้างทำให้ภาพไม่น่าเบื่อหรือจืดชืด เป็นภาพที่มีสิ่งดึงดูดความสนใจและเห็นถึงช่วงเวลาของแสงอาทิตย์เพราะการใช้สีที่ต่างไปจากสีหลัก เป็นภาพที่ดูแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น ความไม่วุ่นวายและสบายตา


จิตวิทยางานกราฟฟิกกับการออกแบบการสอน

1.เทคนิคการกลับพื้นภาพมีผลต่อสายตาผู้ดูอย่างไร
 ตอบ  สังเกตภาพจากการออกแบบกลับพื้นภาพ ทาให้เกิดการสร้างสรรค์งาน เป็นสัญลักษณ์ (Logo) และเป็นที่นิยม เพราะมีความแปลกใหม่ น่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีผลของการมองเห็นว่า ภาพสีขาวที่อยู่ในพื้นสีดา จะทาให้ดูโตขึ้น 10-15 % สังเกตภาพตัวอักษร A ตัวอักษรดาและขาวโตเท่ากันในการทาต้นแบบ เมื่อตัว A อีกตัวหนึ่งไปอยู่ในพื้นดาทาให้ดูโตกว่า เทคนิคนี้นิยมนาไปใช้ทาตัวอักษรพาดหัวข่าวสาคัญในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์






2.ให้นิสิตหาภาพ ความลึก (Perspective) พร้อมอธิบายความหมายของภาพ

ตอบ ภาพวัตถุใดอยู่ใกล้จะใหญ่ ถ้าอยู่ไกลออกไปจะมองเห็นเล็กลงตามลาดับ จนสุดสายตา ซึ่งมีมุมมองหลัก ๆ อยู่ 3 ลักษณะ คือ วัตถุอยู่สูงกว่าระดับตา วัตถุอยู่ในระดับสายตา และวัตถุอยู่ต่ำากว่าระดับสายตา



3.ให้นิสิตหาภาพ ความขัดแย้ง (Contrast) พร้อมอธิบายความหมายของภาพ

ตอบ  การจัดองค์ประกอบให้เกิดความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจหรือให้เกิดความสนุกตื่นเต้น น่าสนใจ ลดความเรียบ น่าเบื่อ ให้ความรู้สึกฝืนใจ ขัดใจ แต่ชวนมอง จากภาพเป็นการตัดกันของสี และรูปร่างที่แตกต่างกันไป 

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555


แบบฝึกหัด
1. ให้นิสิตบอกความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ต่อการเรียนระดับปริญญาตรีสาขาศึกษาศาสตร์
ตอบ     การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับวัยและระดับของผู้เรียนจะเป็นสิ่งที่ จะเป็นสิ่งที่สนับสนุนทำให้ผู้เรียนมีความรู้สึกที่อยากเรียนและเกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีหลายประการได้แก่ 
1. สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวก  ในการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสม
เช่นห้องเรียนมีความสะดวกสบาย มีอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนครบถ้วน ทำให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน ผู้สอนก็มีความสุขในการสอน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปด้วยความราบรื่น สะดวก รวดเร็ว ตามแผนที่วางไว้
2.  สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สนับสนุนการเรียนรู้หลายด้าน  เช่น ทำให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจ เป็นตัวกระตุ้นผู้เรียนให้มีความสนใจและเกิดแรงจูงใจในการเรียนเปลี่ยนเจตคติไปในทางที่ดี มีความพึงพอใจในการเรียนช่วยให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปัจจัยสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนก็คือความรู้สึกที่เกิดจากตัวผู้เรียน ความรู้สึกพึงพอใจ สนใจ อยากเรียน อยากรู้ ซึ่งจะเป็น ตัวการน าไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในที่สุด ดังนั้นถ้าผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ทั้งทางด้านกายภาพ จิตภาพ และทางด้านสังคมภาพแล้ว จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกดังกล่าวได้
3. สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ช่วยจัดประสบการณ์การ  เรียนรู้ที่พึงประสงค์ให้แก่ผู้เรียนประสบการณ์การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ตามปกติแล้วการรับรู้และการเรียนรู้ของผู้เรียนจะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้ปะทะสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก
ที่มากระตุ้นประสาทสัมผัสของผู้เรียน การปะทะสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ เป็นการสร้างประสบการณ์ ดังนั้นถ้าเราต้องการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีก็ต้องจัดให้ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดีก่อนแล้วสภาพแวดล้อม
ต่าง ๆ เหล่านั้นจะเป็นตัวกำหนดประสบการณ์ของผู้เรียนภายหลัง
4. สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดีจะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของผู้เรียน  จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการจัดการศึกษาประการหนึ่งก็คือมุ่งให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพดี มีการแสดงออกทางกาย วาจาและใจตามแบบอย่างที่สังคมยอมรับกล่าวคือมีคุณธรรม และจริยธรรมที่เป็นเครื่องหมายของคนดี มีการประพฤติ ปฏิบัติสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างดี การที่จะหล่อหลอมพฤติกรรม หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนให้เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์นั้นต้องใช้เวลา และอาศัยปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน จึงจะสามารถ
กล่อมเกลาผู้เรียนได้ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยปรับหรือโน้มน้าว
พฤติกรรมของผู้เรียนโดยเฉพาะสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นมิตร มี
ความเป็นประชาธิปไตย ยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ตัดสินปัญหาด้วยเหตุผลต่าง ๆ
เหล่านี้จะค่อย ๆ แทรกซึมเข้าไปในความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียน สะสมทีละน้อยจนในที่สุดก็จะ
แสดงออกในลักษณะของบุคลิกภาพรูปแบบในการรับรู้ ตลอดจนค่านิยมต่าง ๆ ของผู้เรียน
5.  สภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีส่วนช่วยในการควบคุมชั้นเรียนให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัย  สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เป็นตัวกำหนดอาณาเขตของการเรียน ทำให้มีบรรยากาศที่แตกต่างไปจากกิจกรรมอื่น ยกตัวอย่างเช่น ลักษณะของสภาพแวดล้อมในสถานเริงรมย์ ผู้เรียนเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมทางการเรียนที่จัดไว้อย่างเหมาะสม ก็จะรู้จักสำรวมอยู่ในระเบียบวินัยมากขึ้น โดยเฉพาะถ้ามีการจัดโต๊ะ เก้าอี้ ของนักเรียน
อย่างมีวัตถุประสงค์ จะช่วยให้การควบคุมชั้นเรียนมีระบบระเบียบ และง่ายสำหรับผู้สอนมากขึ้น
6. สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เป็นแหล่งทรัพยากรทางการเรียนรู้ได้หลากหลาย  การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวาง หลายแหล่งเห็นความสำคัญของมุมวิชาการ ศูนย์วิชาการ มุมสื่อการเรียนการสอน ทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอน สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้ตลอดเวลาที่
ต้องการ เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบยึดเด็กเป็นศูนย์กลางได้อย่างดี นอกจากนี้แหล่งทรัพยากรการเรียนจะช่วยพัฒนาความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนตลอดจนเป็นการสร้างนิสัยให้ใฝ่เรียนใฝ่รู้ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ไม่ยึดติดอยู่เฉพาะความรู้ที่ได้จากผู้สอน
7. สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสริมสร้างบรรยากาศในการเรียน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดีจะทำให้บรรยากาศในการเรียนเอื้อต่อการเรียนการสอนให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด ในสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีความสะดวกสบาย สงบ ปราศจากสิ่งรบกวน  จะช่วยสร้างบรรยากาศทางวิชาการให้เกิดขึ้นทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้หรือทำกิจกรรมการเรียนต่าง ๆ อย่างตั้งใจและมีสมาธิ ยิ่งถ้าผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นซึ่งจัดว่าเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านจิตภาพมี
บุคลิกลักษณะที่อบอุ่น เป็นมิตร ก็จะยิ่งทำให้บรรยากาศในการเรียนการสอนเป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์มากยิ่งขึ้น
    8. สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน การจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวโยกย้าย ทำให้ผู้สอนไปถึงตัวผู้เรียนได้สะดวก ตำแหน่งของผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้นเสมอไป ผู้สอนอาจนั่งอยู่ท่ามกลางผู้เรียนเพื่อให้คำปรึกษา แนะแนวทางสภาพแวดล้อมเช่นนี้ช่วยให้ผู้สอนมีความใกล้ชิดกับผู้เรียนมากขึ้น ทำให้ได้รู้จักอุปนิสัย ตลอดจนพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ดี ส่วนผู้เรียนจะลดความกลัว และมีความกล้ามากขึ้น กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น มีเจตคติที่ดีต่อผู้สอน

2. “การจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวโยกย้าย ทำให้ผู้สอนไปถึงตัวผู้เรียนได้สะดวก ตำแหน่งของผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้นเสมอไป ผู้สอนอาจนั่งอยู่ท่ามกลางผู้เรียนเพื่อให้คำปรึกษาจัดอยู่ในองค์ประกอบใดของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้  เพราะเหตุใด
ตอบ  สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน การจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวโยกย้าย ทำให้ผู้สอนไปถึงตัวผู้เรียนได้สะดวก ตำแหน่งของผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้นเสมอไป ผู้สอนอาจนั่งอยู่ท่ามกลางผู้เรียนเพื่อให้คำปรึกษา แนะแนวทางสภาพแวดล้อมเช่นนี้ช่วยให้ผู้สอนมีความใกล้ชิดกับผู้เรียนมากขึ้น ทำให้ได้รู้จักอุปนิสัย ตลอดจนพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ดี ส่วนผู้เรียนจะลดความกลัว และมีความกล้ามากขึ้น กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น มีเจตคติที่ดีต่อผู้สอน

3. ให้นิสิตยกตัวอย่างการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ รายวิชา 400202เทคโนโลยีการศึกษา ตามองค์ประกอบของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
ตอบ  ห้องเรียนรายวิชา 400202 เทคโนโลยีการศึกษา  ควรจัดโต๊ะเป็นกลุ่มเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนด้านสังคมสร้างความเป็นมิตร  โดยครูจะต้องกำหนดกฎระเบียบโดยกฎระเบียบนั้นจะต้องร่วมกันตกลงกับนักเรียนซึ่งการกำหนดกฎระเบียบภายในห้องเรียนนี้จะช่วยให้ผู้เรียนมีความร่วมมือ  และขยันที่จะเรียนรู้  นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างประชาธิปไตยภายในห้องเรียนด้วย  นอกจากการจัดโต๊ะเป็นกลุ่มแล้วห้องเรียนควรที่จะมีความเป็นระเบียบสะอาดน่าเรียน  อีกทั้งต้องมีสื่ออุปกรณ์ในการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่ต้องเพียงพอต่อจำนวนนักเรียนโดยจะต้องออกแบบโต๊ะให้สามารถพับคอมพิวเตอร์เก็บลงโต๊ะเรียนเพื่อความสะดวกในชั่วโมงที่ไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์  โปรเจกเตอร์ฉายวีดีทัศน์ต่างๆ  นอกจากนี้แล้วบุคลิกภาพของครูในการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีการศึกษาควรที่จะต้องมีความน่าเชื่อถือ  เป็นกันเอง  ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน  และจะต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครูที่ดีมีประสิทธิภาพ  ซึ่งการจัดสภาพห้องเรียนเช่นนี้จะช่วยให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน  นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน   ครูมีความรู้สึกสนุกและอยากสอนนักเรียน   และทั้งหมดนี้จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนของนักเรียนประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายของการเรียนการสอน

4. ถ้านิสิตได้รับมอบหมายให้ออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ นิสิตจะจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ตามองค์ประกอบ 4 ด้านอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ   1. องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านกายภาพ   คือ จัดห้องเรียนให้กว้างขว้าง สะดวกต่อการทำการทดลอง โต๊ะและเก้าอี้ควรจะจัดเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้นักเรียนทำงานร่วมกัน มีอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ที่ครบถ้วน มีตู้สำหรับเก็บอุปกรณ์ของนักเรียนที่แยกออกจาโต๊ะทำการทดลอง
                2. องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านจิตภาพ คือ ครูผู้สอนมีความเป็นกันเอง ใจดี ไม่บังคับหรือกดดันผู้เรียนในการทำการทดลอง เมื่อผู้เรียนทำการทดลองผิดไม่ควรที่จะว่า แต่ควรบอกวิธีที่ถูกต้อง ทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีต่อการเรียนการสอน
                3. องค์ประกอบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านสังคม คือ มีการทำข้อตกลงระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนอย่างชัดเจนเพื่อ เช่น ไม่นำอาหารหรือเครื่องดื่ม เข้ามารับประทานในห้องเรียน   การเข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา เป็นต้น            
               4. องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี  คือ  การจัดอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเรียน เช่น กล้องจุลทัศ อุปกรณ์ทำการ   ทดลอง แบบจำลองต่าง เป็นต้น
5. แนวคิดเชิงทฤษฎีในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ    ประการที่หนึ่ง ได้แก่แนวคิดเชิงปรัชญาการศึกษา
  ปรัชญาการศึกษาจะเป็นสิ่งบ่งชี้นโยบายในการจัดการศึกษา การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จะต้องดำเนินไปให้สอดคล้องกับนโยบายนั้นๆ
        ประการที่สอง เป็นแนวคิดเชิงทฤษฎีทางด้านจิตวิทยา  
          อันได้แก่ จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม ตลอดจนจิตวิทยาในการทำงาน หลักการต่าง ๆ ทางด้านจิตวิทยานี้จะช่วยให้เข้าใจพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละวัย การเรียนรู้การรับรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร สภาพแวดล้อมที่จะช่วยเอื้อให้เกิดการรับรู้และเรียนรู้ได้ดีควรเป็นอย่างไร
        ประการที่สาม เป็นแนวคิดเชิงทฤษฎีการสื่อสาร
             เนื่องจากการเรียนการสอนนั้นเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารหรือเป็นการสื่อความหมายระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนหลักการต่าง ๆ ของการสื่อสารจะช่วยในการตัดสินใจเลือกสื่อหรือจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่นหลักการที่ว่าการสื่อความหมายจะได้ผลดีต่อเมื่อ ผู้รับเกิดความเข้าใจตรงกันกับผู้ส่ง ดังนั้นผู้สอนควรทำอย่างไร จะใช้สื่อชนิดใด หรือจัดสถานการณ์อย่างไรจึงจะช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ในที่สุด
        ประการที่สี่ เป็นแนวคิดเชิงเทคโนโลยีการศึกษา
        เป็นแนวคิดเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนที่ไม่เพียงแต่อาศัยสื่อประเภทวัสดุ อุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังอาศัย เทคนิค วิธีการตลอดจนแนวคิดต่างๆ เพื่อมาปรุงแต่งสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้เป็นที่น่าสนใจ หรือเร้าความสนใจของผู้เรียน
        ประการที่ห้า แนวคิดเชิงเออร์โกโนมิกส์(ergonomics)
        ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมในการทำงาน G.F. McVey แห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ เออร์โกโนมิกส์และการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ มาเป็นเวลานานเพื่อค้นหาคำตอบว่า สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพลักษณะใดจงจะเหมาะกับผู้เรียนในแต่ละระดับ เช่น ความกว้าง ความสูง ของโต๊ะ เก้าอี้ ขนาดของห้องเรียน ขนาดของห้องฉายการติดตั้งจอ ระบบเสียงในห้องเรียน ห้องฉาย สภาพแวดล้อมทางกายภาพต่าง ๆ เหล่านี้ควรมีลักษณะอย่างไรจึงจะเอื้ออำนวยความสะดวกสบาย ความปลอดภัยและการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้เรียน