วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555


จิตวิทยาสีของการออกแบบสื่อการสอน

 1. ถ้าต้องการออกแบบและน้าเสนอ PowerPointถึงเรื่องราวด้านวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ ควรใช้ใด ในการออกแบบเพราะเหตุใดจงอธิบาย  
ตอบ    การออกแบบถึงเรื่องราวด้านวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ สีน้ำตาล ให้ความรู้สึก เก่าแก่โบราณ นึกย้อนถึง ชุมชนโบราณ วัฒนธรรมได้เป็นอย่างดีควรใช้ตัวอักษรที่อ่านได้อย่างชัดเจน อ่านง่าย ขนาดของตัวอักษรมีขนาดที่เห็นได้อย่างชัดเจน ไม่ใช้ตัวอักษรสีสะท้อนแสง สีฉูดฉาด การใส่ภาพประกอบเรื่องราวหากไม่จำเป็นไม่ควรมีอักษรในภาพ ตัวอักษรที่ใช้ควรให้เงาเพื่อเพิ่มความคมชัด ส่วนสีของตัวอักษรหรือภาพประกอบที่ใช้ควรใช้สีใสบายตา ใช้รูปเป็นจุดเด่น สร้างความสนใจ และไม่ให้อารมณ์ไปทางใดทานหนึ่งจนเกินไป



2.ให้นิสิตหาภาพถ่ายหรือภาพวาดจาก Google Search ที่ใช้สีตัดกันมา 2 ภาพพร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภา
ตอบ   


ในภาพนี้เป็นการตัดกันของสีฟ้าและเทา ซึ่งทำให้รู้สึกถึงความนิ่งเงียบ ปราศจากการเคลื่อนไหว แสดงถึงความหมดหวัง สิ้นหวัง สื่อให้เห็นว่าการเดินทางสิ้นสุดลงตรงนี้ หมดทางไปต่อ ปลายทาง  


จากภาพเราใช้สีตรงข้ามกันเอามาตัดกันจะทำให้จุดสนใจอยู่ตรงภาพที่เอามาตัด ถ้าใช้สีตรงข้ามตัดกัน ควรจะให้สีหลัก 80% และสีรองเป็น 20% โดยประมาณ จะทำให้สีที่เราต้องการเป็นโทนสีหลัก เป็นการใช้สีตัดกันที่ชัดเจนอีกด้วย 


3. .ให้นิสิตหาตัวอย่างภาพจาก Google Search ในลักษณะการสร้างความกลมกลืน โดยใช้สีในลักษณะสภาพสีส่วนรวม (TONALITY OF COLOR) มา 2 ภาพพร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภาพ
ตอบ    ภาพนี้เป็นการใช้สีกลุ่มกลมกลืนกัน เกิดจากการส่งเสริมกันระหว่างสีของพื้นกับสีของส่วนเด่น โดยให้สีของส่วนเด่นปรากฏเด่นชัดขึ้นหรือเปล่งพลังของสีออกมาอย่างเต็มที่คล้ายกับการเขียนสีแท้ท่ามกลางสีหม่น ซึ่งมีสีอื่นมาปนบ้างแต่ไม่มากนักทำให้ภาพดูไม่จืดชืด เป็นการใช้สีส่งเสริมให้เกิดพลังสีเด่นนี้โดยเห็นได้ว่าภาพแบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วนพื้นและส่วนเด่นหรือจุดสนใจ โดยรวมแล้วให้ความรู้สึกนุ่มนวล รู้ถึงการเคลื่อนไหวของโคมไฟและสัมผัสได้ถึงความวิจิตรงดงามของภาพ

 ภาพนี้เป็นการใช้สีกลุ่มกลมกลืนกันซึ่งเป็นโทนชุดสีร้อน มีสีอื่นปนมาบ้างทำให้ภาพไม่น่าเบื่อหรือจืดชืด เป็นภาพที่มีสิ่งดึงดูดความสนใจและเห็นถึงช่วงเวลาของแสงอาทิตย์เพราะการใช้สีที่ต่างไปจากสีหลัก เป็นภาพที่ดูแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น ความไม่วุ่นวายและสบายตา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น